
นิยามสั้นๆ
ผู้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับโครงสร้างของดินและหิน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หรือทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อบรรเทาภัยพิบัติทางธรณีวิทยา
📃 ลักษณะงาน
- ลงพื้นที่สำรวจแหล่งแร่ เพื่อเก็บตัวอย่างหินและแร่ต่างๆ มาศึกษาวิจัย สร้างองค์ความรู้
- จัดทำรายงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ ฟื้นฟู การนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
- ศึกษาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น เพื่อระบุสาเหตุ และการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงวางแผนมาตรการการป้องกันเฝ้าระวังภัย
- ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติทางธรณีวิทยา เช่น แร่และหิน ปิโตรเลียม ถ่านหิน น้ำบาดาล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ทั้งการอุปโภคบริโภค รวมถึงเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
- ให้คำแนะนำ ปรึกษาและเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการด้านธรณีวิทยาและอุทกธรณีวิทยาแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
📊 ขั้นตอนการทำงาน
- กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการศึกษา เช่น ระบุเป้าหมายและตั้งสมมติฐานของการศึกษา กำหนดขอบเขตพื้นที่ที่จะศึกษา ระยะเวลาที่ใช้ วิธีการที่ใช้ เครื่องมือในการทำงาน เป็นต้น
- เตรียมข้อมูลของพื้นที่ที่จะศึกษา เช่น ภูมิประเทศ ระดับความสูง วัสดุธรณี เป็นต้น และเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น เช่น ภาพถ่ายทางอากาศของบริเวณที่จะศึกษา เครื่องมือวัดแรงดันในดินและหิน และอุปกรณ์สำหรับการสกัดตัวอย่าง ฯลฯ
- ลงพื้นที่เพื่อศึกษา รวบรวบข้อมูลตามวิธีการที่วางแผนไว้ เช่น ค้นคว้ารวบรวมข้อมูล สแกนชั้นหิน เก็บตัวอย่างหิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- วิเคราะห์และตีความผลการศึกษา โดยใช้ความรู้เฉพาะทาง และเครื่องมือพิเศษเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางธรณีวิทยา โดยแบ่งวิธีการวิเคราะห์ออกเป็น
- วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการหรือใช้เครื่องมือในห้อง Lab เพื่อวิเคราะห์ว่าตัวอย่างที่เก็บมาได้
- นำตัวอย่างมาจำแนกว่าคืออะไร เหมาะที่จะนำมาใช้งานตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่
- สรุปผลตามเป้าหมายการศึกษา และจัดทำรายงานผลการศึกษาเพื่อนำเสนอให้แก่หน่วยงานผู้ให้ทุนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษาและอัพเดทความก้าวหน้าในความรู้ด้านธรณีวิทยาและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงความรู้ที่มีให้ทันสมัยตลอดเวลา
👩🏻💻 อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
- นักวิทยาศาสตร์สภาพแวดล้อม
- นักชีววิทยา
- นักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์
- นักวิทยาศาสตร์เคมี
- นักวิชาการป่าไม้
- วิศวกรโยธา
- วิศวกรปิโตรเคมี
🏢 สถานที่และเวลาทำงาน
- นักธรณีวิทยา สามารถเข้าทำงานได้ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น
- หน่วยงานราชการ เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน กรมทางหลวง กรมน้ำบาดาล กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
- หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
- บริษัทเอกชน เช่น บริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทเหมืองแร่ เป็นต้น
- อาชีพนี้มีทั้งการทำงานในสำนักงาน และการปฏิบัติงานในภาคสนาม เช่น การลงสำรวจพื้นที่, การทำงานบนแท่นขุดเจาะ เป็นต้น
- นักธรณีวิทยาทำงานตามเวลาชั่วโมงทำงานขององค์กรนั้น ๆ เช่น เวลา 8.30 น. - 16.30 น. เป็นต้น
- การทำงานภาคสนาม เวลาทำงานจะยืดหยุ่นตามภาระงาน เช่น
- การทำงานบนแท่นขุดเจาะน้ำมัน เวลาทำงานจะแบ่งเป็นกะ กะละ 12 ชั่วโมง และถ้าได้รับข้อมูลเร่งด่วนนอกเวลาทำงาน นักธรณีวิทยาจำเป็นต้องรีบวิเคราะห์และส่งกลับไปแม้อาจจะเป็นเวลาตีสอง
- การสำรวจพื้นที่เวลาจะค่อนข้างยืดหยุ่น ออกเดินทางตามสะดวกและตามธรรมชาติของงาน มีการใช้เวลาเดินทางนานบ้าง สั้นบ้างตามระยะทาง และในช่วงเวลาที่ลงพื้นที่ภาคสนามจะไม่ทำงานจนมืดค่ำ เพราะเมื่อมืดแล้วไม่สามารถเก็บตัวอย่างทางธรณีวิทยาได้
✅ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้
- เพิ่งเริ่มมีใบประกอบวิชาชีพนักธรณีวิทยา จึงเริ่มมีการใช้ และขอตรวจสอบใบประกอบวิชาชีพนักธรณีวิทยา
- เรียนจบมัธยมสายวิทย์มา น่าจะเหมาะมาเรียนต่อทางธรณีวิทยา
- มีองค์ความรู้ในวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Pure Science) ทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิตศาสตร์ เพราะธรณีวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเหล่านี้ เช่น คณิตศาสตร์ใช้คำนวณความหนาของชั้นหิน มุมที่เอียงของชั้นหิน ชีววิทยาใช้เมื่อเจอฟอสซิลแล้วต้องดูว่าเป็นสิ่งมีชีวิตในไฟลัม หรือสปีชีส์ใด อาศัยอยู่ในช่วงเวลาใด เคมีใช้เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของวัสดุธรณีวิทยา (Earth Material) ความรู้ทางฟิสิกส์ใช้กับเครื่องมือสำรวจ
- ในการทำงานจำเป็นต้องใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์สำหรับนักธรณีวิทยา เพื่อสร้างแบบจำลอง สร้างแผนที่ ช่วยในการคำนวณการประเมินพื้นที่และทรัพยากร
- ต้องมีนิสัยการทำงานแบบนักวิทยาศาสตร์ คือ มีกระบวนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลที่ได้เพื่อทดสอบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
- ช่างสังเกต เพราะสนามที่นักธรณีวิทยามองหาเป้าหมายนั้นมีขนาดใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมาย การสังเกตทำให้หาเป้าหมายได้พบ
- ทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เดินทางไปยังที่ต่างๆ ด้วยวิธีที่ค่อนข้างยากลำบากได้
💵 โอกาส ความท้าทาย และผลตอบแทน
- เงินเดือนและค่าตอบแทน หากทำงานในองค์กรรัฐ เงินเดือนเริ่มต้นตามเงินเดือนข้าราชการ (ประมาณ 15,000 - 16,500 บาท) หากทำงานในองค์กรสำรวจ เช่น สายปิโตรเลียม เหมืองแร่ เงินเดือนเริ่มต้นระดับปริญญาตรีอาจสูงถึง 45,000 บาท
- หากทำงานในองค์กรใหญ่ อาจได้ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น ทำหน้าที่เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ ซึ่งไม่ต้องลงพื้นที่ภาคสนาม แต่ถ้าหากทำงานในองค์กรเล็ก อาจจะต้องทำทุกหน้าที่
- การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักธรณีวิทยา” มีดังนี้
- นักธรณีวิทยาในหน่วยงานราชการและเอกชน สามารถเติบโตไปตามสายงานด้านการบริหารไปจนถึงระดับผู้บริหาร ดังนี้
- นักธรณีวิทยา, นักธรณีวิทยาปฏิบัติการ
- นักธรณีวิทยาอาวุโส, นักธรณีวิทยาชำนาญการ
- ผู้จัดการนักธรณีวิทยา, หัวหน้าฝ่าย, หัวหน้ากอง
- รองอธิบดี (เฉพาะหน่วยงานราชการ)
- อธิบดี (เฉพาะหน่วยงานราชการ)
- นักธรณีวิทยาที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาก ๆ สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งงานเฉพาะทางมาก ๆ ได้ เช่น
- นักบรรพชีวินวิทยา(Paleontologists) ศึกษาซากดึกดำบรรพ์
- นักภูเขาไฟ (Volcanologists) ศึกษาภูเขาไฟที่ยังปะทุและดับแล้ว
- นักอุทกธรณีวิทยา (Hydrogeologists) ศึกษาปริมาณและคุณภาพของแหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน
- นักธรณีโบราณคดี ศึกษาแปลความศิลาจารึก ภาษา ศิลปะ ในยุคต่าง ๆ โดยงานโบราณคดีในยุคที่ยังไม่มีภาษาไม่มีการจดบันทึก จะใช้ข้อมูลทางธรณีวิทยาเป็นส่วนสำคัญในการศึกษา เช่น เศษหินที่ดูวุ่นวายอาจหมายถึงชุมชนนี้เคยมีดินถล่ม บ้านที่เอียงอาจหมายถึงแผ่นดินไหว เป็นต้น
- นักธรณีวิทยาที่ทำงานด้านภัยพิบัติที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ประเมินภูเขาไฟที่กำลังจะประทุ สึนามิ หรือแผ่นดินไหว การเตรียมให้ประชาชนอพยพ
- นักธรณีวิทยาที่สำรวจตรวจสอบ กำกับดูแลความปลอดภัยเรื่องเขื่อน
- นักธรณีวิทยาที่ทำแผนที่ธรณีวิทยา เพื่อข้อมูลพื้นฐานของพื้นที่นั้น หรือประเมินตำแหน่งทรัพยกรต่าง ๆ ในดิน หรือประเมินภัยพิบัติ
- นักธรณีวิทยาที่ทำงานด้านภูมิสารสนเทศ หรือที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ดูความเป็นไปได้ของน้ำท่วม โอกาสดินถล่ม ประเมินทรัพยากร เป็นต้น
- นักธรณีวิทยาในหน่วยงานราชการและเอกชน สามารถเติบโตไปตามสายงานด้านการบริหารไปจนถึงระดับผู้บริหาร ดังนี้
- งานของนักธรณีวิทยาเป็นงานที่ใช้ความสามารถเฉพาะทางมาก เป็นงานที่อาชีพอื่นจะทำแทนได้ยาก
- เป็นอาชีพที่มีความต้องการสอดคล้องไปกับการเติบโตของอุตสาหกรรมด้านเหมืองแร่และปิโตรเลียม
- ภาวะโลกร้อน ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และพิบัติภัยธรรมชาติ เพิ่มสูงขึ้นทำให้นักธรณีวิทยาเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงขึ้นตามไปด้วย
- ความยากและท้าทายของอาชีพ “นักธรณีวิทยา” คือ
- นักธรณีวิทยาต้องทำงานลงพื้นที่ซึ่งต้องเจอสภาพอากาศที่หลากหลาย เช่น แดดร้อน ฝนตก อากาศหนาว ฯลฯ ซึ่งอาจต้องทำงานในพื้นที่ทุรกันดาร เข้าถึงยาก
- งานวิจัยทางธรณีวิทยามีความซับซ้อน ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สูงเพื่อรวบรวมข้อมูล คำนวณข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูล
- นักธรณีวิทยาต้องเผชิญกับความกดดันในเรื่องจำนวนการตีพิมพ์ผลงานวิจัย
- สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
- การลงพื้นที่ทำงาน ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก หรือเป็นสถานที่ที่อาจเกิดภัยพิบัติซ้ำ ซึ่งเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย
- เนื่องจากข้อมูลการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางธรณี อาจมีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจ หรือการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง
🖥️ ช่องทางการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
- คลิป YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักธรณีวิทยา เช่น
- Channel, T. (n.d.). I AM : Petroleum Geologist นักธรณีวิทยา [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=K28ILSXNoKE&ab_channel=TruePlookpanyaChannel
- Mahidol, W. (n.d.). อาชีพ นักธรณีศาสตร์ผู้ช่วย | MU Careers Service [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=CC7RXN6Uf1g&ab_channel=WeMahidol
- Mahidol, W. (n.d.). อาชีพ นักธรณีฟิสิกส์ | MU Careers Service [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=DWfHWGOenqQ&ab_channel=WeMahidol
- “มิตรเอิร์ธ - mitrearth” พื้นที่แบ่งปันความรู้ ข่าวสารและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์โลก
- Geology Youth Camp (ค่ายเยาวชนธรณีวิทยา จุฬาฯ) ค่ายแนะแนวการศึกษา จัดโดยนิสิตภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมเกี่ยวกับ "นักธรณีวิทยา"
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะวิทยาศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์
📚 ข้อมูลสายการเรียนที่เกี่ยวข้อง
มัธยมศึกษาตอนปลาย
- สายวิทย์-คณิต
- สายศิลป์-คำนวณ
- สายศิลป์-ภาษา
- ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้
ปริญญาตรี เช่น
- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาธรณีวิทยา
- คณะเทคโนโลยี สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
- คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
- สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเทคโนโลยีธรณี
ปริญญาโท เช่น
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา(หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีศาสตร์และพลังงาน
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์(หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะเทคโนโลยี วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
- คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
ปริญญาเอก เช่น
- คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา
- คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา(หลักสูตรนานาชาติ)
- คณะเทคโนโลยี ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
- คณะวิทยาศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นพิภพ
*ข้อมูล ณ ปี 2567
🌐 แหล่งอ้างอิง
- สมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย - https://www.gst.or.th/
- กรมทรัพยากรธรณี https://www.dmr.go.th/
ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.geo.sc.chula.ac.th/jobs/#:~:text=%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%20(Geologist)%20%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%20%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89,%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3