
นิยามสั้นๆ
ผู้ที่มีความเข้าใจในคุณลักษณะและกระบวนการนำไปใช้ของวัตถุดิบ เพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ด้านอาหารที่หลากหลาย ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
📃 ลักษณะงาน
- คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารใหม่ ๆ
- ประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์
- ทำเอกสารข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งต่อให้กับฝ่ายต่าง ๆ
📊 ขั้นตอนการทำงาน
- รับข้อมูลจากฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดเพื่อทำความเข้าใจข้อมูลพฤติกรรมและรสนิยมของผู้บริโภค
- คิดออกแบบตัวผลิตภัณฑ์และหาข้อมูลจากในอินเทอร์เน็ตหรืองานวิจัย
- สร้างผลิตภัณฑ์ตัวทดลองขึ้นมาส่งต่อให้กับฝ่ายการตลาดนำผลิตภัณฑ์ไปทดลองกับลูกค้า เพื่อรับข้อเสนอมาปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ จนกว่าจะเป็นที่พึงพอใจของฝ่ายการตลาด
- จัดเตรียมเอกสาร เพื่อดำเนินการขอการอนุมัติจากหน่วยงานราชการ เช่น องค์การอาหารและยา (อย.)
- ทำเอกสารข้อมูลกำหนดขั้นตอนการผลิตไปในเอกสาร เช่น การกำหนดความเร็วในการผลิต กระบวนการในการผลิต คุณภาพวัตถุดิบ การตั้งค่าเครื่องจักรที่ใช้ผลิต ส่งให้กับทางฝ่ายผลิต และฝ่ายควบคุมคุณภาพ เพื่อนำผลิตภัณฑ์ตัวทดลองเข้าสู่กระบวนการผลิตจริง ซึ่งเป็นการผลิตจำนวนมาก
👩🏻💻 อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
- เจ้าหน้าที่การตลาด (Marketing)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ
- เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ (Quality control : QC)
🏢 สถานที่และเวลาทำงาน
- ทำงานในโรงงาน เช่น โรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร, โรงงานผลิตวัตถุดิบ เป็นต้น หรือทำงานในบริษัทที่เป็นห้องแล๊บตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหาร
- หรือทำงานในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น องค์การอาหารและยา (อย.), กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
- ถ้าทำงานโรงงานจะทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ แต่ถ้าทำงานในห้องแล๊บหรือหน่วยงานราชการจะทำงาน 5 วัน/สัปดาห์
- เวลาในการทำงาน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.
✅ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้
- ชอบวิทยาศาสตร์ ชอบคำนวณ มีความคิดสร้างสรรค์และชอบเรียนรู้
- มีความช่างสังเกต ชอบทดลองสิ่งใหม่
- มีทักษะด้านการสื่อสารและประสานงาน
- มีทักษะคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เพื่อทำการแปลงผล คำนวณ หรือนำเสนอผลงาน
- ต้องจบสายวิทย์คณิตหรือศิลป์คำนวณ เพื่อเรียนต่อใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ คณะอุตสาหกรรมการเกษตรสาขาเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น สาขาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์, สาขาการพัฒนาผลิตภัณฑ์, สาขาวิศวกรรมอาหาร , สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นต้น
- ต้องมีการสอบใบประกอบวิชาชีพ
💵 โอกาส ความท้าทาย และผลตอบแทน
- เป็นอาชีพที่เปิดกว้างในตลาด เพราะทักษะของอาชีพนี้ค่อนข้างกว้างและเป็นที่เปิดรับของตลาดสูง
- เป็นอาชีพที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้กับผู้บริโภค เช่นการแปรรูปสินค้าที่คุ้นเคยให้เป็นรูปแบบใหม่ๆ ยกระดับคุณภาพมาตราฐานของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในชุมชน
- เป็นอาชีพที่ให้ความกล้าคิด ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยได้ทำ และรู้สึกท้าทาย ได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เจอเครื่องมือแปลก ๆ ที่ไม่เคยได้เห็นในชีวิตประจำวัน
- อาชีพนี้สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนา เป็นผู้จัดการโรงงาน ไปจนถึงการทำธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหารของตัวเอง
- หรืออาจจะย้ายไปทำงานฝ่ายอื่น ๆ เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด เป็นต้น
- การทำงานในโรงงานทำให้มีเวลาส่วนตัวน้อยและได้รับความสะดวกสบายในชีวิตน้อยเนื่องจากโรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่านเมืองหรือต่างจังหวัด
- มีผลเสียต่อสุขภาพจากเสียงรบกวนของเครื่องจักร สารเคมีที่ใช้ในการผลิต หรือสภาพบรรยากาศในโรงงาน เช่น กลิ่น ฝุ่นผง เป็นต้น
🖥️ ช่องทางการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
- ค้นหาคำว่า food sci ในอินเทอร์เน็ตอ่านทำความเข้าใจเบื้องต้นได้
- งานนิทรรศกาลที่เกี่ยวข้องกับนวัฒกรรม สินค้าใหม่ๆ นวัฒกรรมต่างๆ เครื่องมือที่น่าสนใจ เพราะส่วนใหญ่คนทำงานด้านนี้ก็จะมารวมกันอยู่ที่งานนี้
- งานนิทรรศกาลเกี่ยวกับเครื่องมือในอุตสาหกรรมการทำงาน เพราะในงานจะมีมหาลัยที่มานำเสนองานวิจัยของตัวเอง