
นิยามสั้นๆ
ผู้ออกแบบ ผลิต ประชาสัมพันธ์ และจัดการการขายสินค้า โดยใช้พื้นที่ออนไลน์ในการขายเป็นหลัก
📃 ลักษณะงาน
- ส่วนการผลิตสินค้า:
- คิดสินค้าที่ต้องการจะขาย
- ออกแบบสินค้า
- ดูแลการผลิตสินค้า
- ส่วนการขาย:
- หาพื้นที่ขายของออนไลน์
- เป็นแอดมินแพลตฟอร์มการขาย ดูแลลูกค้าและการขายในช่องทางการขายออนไลน์ต่าง ๆ
- ดูแลการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย
📊 ขั้นตอนการทำงาน
- กำหนดสินค้าที่ต้องการขาย และระบุกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าของเรา
- ออกแบบสินค้า โดยคำนึงถึงกลุ่มลูกค้า คำนึงถึงวัสดุที่จะใช้ผลิต และรายละเอียดของการผลิตสินค้า เช่น ผู้ผลิตที่จะรับผลิต จำนวนขั้นต่ำในการผลิต ราคาต้นทุนผลิตต่อชิ้น และการตรวจแบบสินค้าก่อนสั่งผลิต เป็นต้น
- ดูแลตลอดขั้นตอนการผลิตสินค้าเพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามที่เราออกแบบไว้
- เมื่อสินค้าผลิตเสร็จแล้ว เริ่มขั้นตอนการขาย โพสท์สินค้าลงบนแพลตฟอร์ม ตอบข้อความลูกค้า หาวิธีการส่งเสริมการขาย เช่น คูปองส่วนลด คูปองส่งฟรี ต้องศึกษาวิธีการใช้และวิธีการส่งเสริมการขายของแต่ละแพลตฟอร์ม ที่นำสินค้าไปขาย เป็นต้น
- ทำการตลาดเพื่อดึงให้ลูกค้ามาสนใจสินค้า ทำให้พื้นที่ออนไลน์หรือแพลทฟอร์มของร้านมีการเคลื่อนไหว คุยกับลูกค้า ให้ข้อมูลสินค้ากับลูกค้า
- ปิดการขาย ส่งสินค้า และบริการหลังการขายให้กับลูกค้า เช่น ช่วยตรวจสอบการจัดส่งสินค้า ตอบคำถามลูกค้าเรื่องการใช้งาน รับฟีดแบคจากลูกค้า เป็นต้น
👩🏻💻 อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
ทำงานร่วมกับหลากหลายอาชีพ หลัก ๆ คือ
- นักออกแบบผลิตภัณฑ์
- นักออกแบบสิ่งพิมพ์
- โรงงานผลิตสินค้า
- โรงพิมพ์
- เจ้าหน้าที่จากแพลทฟอร์มการขายที่เราเลือกใช้ (ที่จะคอยช่วยแนะนำวิธีการใช้แพลทฟอร์ม ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการขาย)
🏢 สถานที่และเวลาทำงาน
อาจทำงานเป็นแม่ค้าขายสินค้าของตนเอง หรือทำงานขายของให้กับองค์กร
- หากทำงานให้กับองค์กร อาจทำงานที่ออฟฟิศขององค์กร เวลาตามเวลาทำงานทั่วไป คือเวลา 8:00 - 17:00 น.
- หากขายสินค้าของตนเอง สามารถมีอิสระในการแบ่งเวลาการทำงาน และเลือกสถานที่ทำงาน โดยพื้นที่สำคัญที่จำเป็นต้องมีสำหรับการขายของออนไลน์คือพื้นที่เก็บหรือสต็อคสินค้า และพื้นที่แพ็คของเพื่อจัดส่งสินค้า
- เวลาในการทำงาน สามารถเลือกจัดสรรเวลาทำงานได้ โดยทั่วไปคือเวลาทำงาน 8:00 - 17:00 น.
- อาจจัดตารางการทำงานในแต่ละวันในแต่ละสัปดาห์ โดยแต่ละวันอาจกำหนดไว้ว่าจะทำงานประเภทต่าง ๆ เช่น
- ออกแบบสินค้า ติดตามความคืบหน้าการออกแบบและผลิตสินค้า
- จัดส่งสินค้า
- ถ่ายแบบสินค้า หรือเตรียมภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขาย
✅ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้
- ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างน้อยที่สุดต้องสามารถคุยภาษาไทยได้รู้เรื่อง ฉาดฉาน หากได้ภาษาอื่นด้วยก็จะเป็นข้อดีข้อได้เปรียบของแบรนด์สินค้า
- มีความเข้าใจการตลาด เช่น เข้าใจและรู้จักกลุ่มลูกค้า รู้อายุ ความชอบ อาชีพของพวกเขา เป็นต้น
- มีทักษะในการใช้แพลตฟอร์มการขายออนไลน์ มีความสามารถในการใช้งานหลังบ้านของหน้าร้านค้าในแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้
- หากมีทักษะในการออกแบบ จะช่วยให้สามารถบอกนักออกแบบได้เข้าใจง่ายว่าต้องการอะไร อยากได้สินค้าที่มีคุณสมบัติอย่างไร สามารถคิดออกแบบสินค้าได้เอง ทำให้แบรนด์สินค้ามีบุคลิกเฉพาะตัว ต่อยอดสินค้าอื่น ๆ ในแบรนด์ได้
- มีวินัย มีทักษะการจัดการเวลา สามารถบริหารจัดการเวลาได้ เพราะแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลา หากแบ่งเวลาไม่ดีพอ ทำให้งานไม่เสร็จทันตามเวลา ทำให้งานที่ต้องทำขั้นตอนต่อไปติดขัด
- ถ้ามีความสามารถในการพูดขายของ อาจช่วยเพิ่มยอดขายได้
- ควรติดตามกระแสความนิยมและหากทำตามได้ก็จะช่วยขายได้มากขึ้น เช่น ช่วงที่ลูกค้ากำลังนิยมการไลฟ์ขายของ เป็นต้น
- ถ้ามีความชอบหรืออินกับสินค้ามาก ๆ เช่น ชอบเครื่องนอนมากๆ สนใจที่จำนวนด้ายที่ทอมาก เป็นต้น ก็จะทำให้เข้าใจและรู้เรื่องเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ มากขึ้น เก่งขึ้น และยิ่งแม่ค้ารู้หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าตัวเองมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น การขายก็จะง่ายขึ้น หากลูกค้าถามอะไรมาก็สามารถตอบได้ จะดูเป็นแม่ค้ามืออาชีพ
- ไม่จำเป็นต้องเรียนจบการตลาดหรือการขายมา แต่ถ้าจบมาโดยตรงก็จะมีประโยชน์กับการขาย ซึ่งจริง ๆ ทุกสาขาที่เรียนจบมานำมาปรับใช้กับอาชีพแม่ค้าได้
- ไม่จำเป็นต้องมีใบประกอบวิชาชีพ แต่สินค้าบางชนิดต้องมีใบอนุญาตจึงจะขายได้ เช่น ยา หรืออาหาร เป็นต้น
💵 โอกาส ความท้าทาย และผลตอบแทน
- ความท้าทายคือต้องเห็นภาพรวมของแบรนด์สินค้าอย่างครอบคลุม เพื่อที่จะคิดสินค้าใหม่ของแบรนด์ออกมาให้ได้ตลอด
- การทำงานขายของส่วนตัวต่างกับการทำงานในองค์กรในแง่
- ผลตอบแทนจากความพยายามที่ใส่ลงไป ถ้าเป็นงานของตนเอง หากใส่แรงเยอะก็อาจจะนำมาสู่ผลตอบแทนที่เยอะ ในขณะที่ผลตอบแทนจากการทำงานในองค์กรอาจไม่เป็นเช่นนั้น
- การขายของของตนเอง ทำให้สามารถวางแผนการเติบโตของแบรนด์สินค้าและมีโอกาสทำตามแผนให้สำเร็จได้มากกว่า สามารถควบคุมเส้นทางการเติบโตของสินค้าหรือร้านค้าของตนเองได้มากกว่าการทำงานขายในองค์กร เช่น ปีหน้าต้องการขยายการผลิตให้ได้มากขึ้น เพื่อให้ขายได้เดือนละมากขึ้น
- การขายสินค้าของตนเอง จะเติบโตในแง่ยอดขายของธุรกิจ องค์กร หรือ แบรนด์สินค้า แต่หากทำงานในองค์กรจะเติบโตในแง่เส้นทางอาชีพที่มีตำแหน่งและค่าตอบแทนสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ
- ลักษณะสินค้าที่ขายในองค์กร มักเป็นสินค้าที่มาจากการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ผลิตเป็นจำนวนมาก ในขณะที่สินค้าที่แม่ค้าขายของออนไลน์ผลิตเองจะมีจำนวนการผลิตที่น้อยกว่า สเกลงานเล็กกว่า
- การขายของออนไลน์ในองค์กร มักจะแบ่งความรับผิดชอบในการทำงานอย่างชัดเจน เช่นแอดมินทำหน้าที่ตอบคำถามลูกค้า ฝ่ายการตลาดทำหน้าที่เพิ่มยอดขายด้วยกิจกรรมส่งเสริมการขายต่าง ๆ ฝ่ายสินค้าที่ดูแลเรื่องการผลิตหรือการหาสินค้า รวมถึงการจัดสต็อคสินค้าด้วย ในขณะที่แม่ค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าตนเองอาจต้องทำทุกหน้าที่คนเดียว ทำให้ไม่สามารถโฟกัสในส่วนใดส่วนหนึ่งได้
- สามารถต่อยอดไปทำงานอาชีพอื่น ๆ ต่อไป ด้วยทักษะที่มีได้ เช่น
- รับออกแบบสินค้าให้ผู้อื่น
- เป็นแอดมินดูแลร้านค้า และหลังบ้านของแพลตฟอร์มการขายต่าง ๆ ได้ เป็นคนคอยตอบข้อความ ซึ่งเป็นที่ต้องการมาก
- รับทำการตลาดให้กับสินค้าต่าง ๆ ได้
- เงินตอบแทน หากเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเองด้วย
- อาจกำหนดค่าตอบแทนตนเองได้ตามแต่จะบริหาร เช่น
- แยกค่าตอบแทนส่วนตัวกับเงินรายได้ของแบรนด์สินค้าชัดเจน หรือรวมรายได้ทั้งหมดเป็นของตนเอง
- ให้ค่าตอบแทนตนเองเป็นเงินเดือน หรือคิดเป็นเปอร์เซนจากยอดขาย
- หากไม่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทก็จะไม่มีใบรับรองเงินเดือน
- รายได้ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ ขึ้นอยู่กับสินค้าที่ขาย และยอดขายที่ทำได้ มีโอกาสทั้งได้กำไร เท่าทุน และขาดทุน แล้วแต่การบริหารจัดการของแต่ละคน โดยที่มีแนวโน้มว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น หากมีกำลังผลิตที่ตอบโจทย์ลูกค้า และจัดการต้นทุนให้อยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้
- อาจกำหนดค่าตอบแทนตนเองได้ตามแต่จะบริหาร เช่น
- ไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ เหมือนการทำงานในองค์กร เช่น ไม่มีโอที ไม่มีค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
- เวลาของการทำงานไม่มีจำกัด เนื่องจากเป็นธุรกิจเป็นสินค้าของตนเอง ต้องจัดการให้ได้พอดี เพื่อสุขภาพของตนเอง และมีจำนวนชั่วโมงทำงานที่เหมาะสม
- อาจทำให้เกิดความกดดัน ความเครียด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จากสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมต่าง ๆเช่น การผลิตสินค้าให้ได้ทันตามกำหนดเมื่อโรงงานมีปัญหาการผลิต การชี้แจงลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าพรีออร์เดอร์สินค้าเข้ามา แต่ผลิตสินค้าไม่ทันวันส่ง หรือสินค้าที่ผลิตมาไม่ได้ลักษณะตามที่ได้สั่งไว้ หรือการที่มีแบรนด์ใหญ่ออกสินค้าใกล้เคียงกันและราคาถูกกว่า เป็นต้น
- หากนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์กับโต๊ะหรือเก้าอี้ที่ไม่พอดีกับสัดส่วน หรือนั่งทำงานนาน ๆ อาจทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดไหล่ ได้
- ช่วงเทศกาล หรือช่วงที่มีโปรโมชันของแพลตฟอร์ม หากบริหารจัดการขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ และเตรียมการไว้ ก็ยังจะสามารถแบ่งเวลาว่างได้ รวมถึงแพลตฟอร์มการขายที่สามารถตั้งเวลาโพสท์สินค้าไว้ล่วงหน้า สามารถตั้งค่าตอบกลับอัตโนมัติ และฟังก์ชันอื่น ๆ ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ขาย
- เทคโนโลยี หรือปัญญาประดิษฐ์ AI ไม่น่าจะขัดขวางหรือแทนที่การทำงานจของแม่ค้าออนไลน์ เพราะส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกผูกพัน ใกล้ชิดกับสินค้านั้น ๆ เป็นเพราะตัวคาแรคเตอร์ของแม่ค้า ที่ AI ไม่น่ามาแทนได้ แต่ AI อาจมีส่วนในการเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การขายสะดวกสบายหรือสำเร็จมากขึ้น
- สถานการณ์บ้านเมือง สถานการณ์โลก หรือภาวะโรคระบาดมีผลกระทบกับการขายของออนไลน์ในแง่การส่งของ เช่น ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด จะมีบางพื้นที่ไม่สามารถส่งได้
- หากแพลตฟอร์มหลักที่มีหน้าร้านขายของอยู่เพียงแค่แพลตฟอร์มเดียวเกิดปิดตัว หรือตั้งเงื่อนไขที่ต้องทำตาม จะได้รับผลกระทบมาก เหมือนโดนปิดหน้าร้าน ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่สามารถต่อรองหรือควบคุมได้
🖥️ ช่องทางการศึกษาความรู้เพิ่มเติม