ข้อมูลอาชีพเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 11:30 • ใช้เวลาอ่าน 2 นาที
brand communication-pana.png

 

นิยามสั้นๆ

 

ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร ผ่านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร  ต่อสาธารณชน

 

📃 ลักษณะงาน
  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารในเรื่องที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กร  เช่น ข้อปัญหาที่เป็นที่ถกเถียงของสาธารณชน
  • เผยแพร่ข่าวสาร ข้อมูล กิจกรรมขององค์กรเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรและเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร 
  • วางแผน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดการงานประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นพับ ประกาศโฆษณา การแถลงข่าว กิจกรรม เป็นต้น
  • วิเคราะห์ผลและรายงานผลการประชาสัมพันธ์เพื่อให้สามารถปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมในอนาคตได้
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน เช่น การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ (press release) เพื่อให้สื่อมวลชนสนใจและรายงานข้อมูลในทางที่ต้องการ
📊 ขั้นตอนการทำงาน
  1. ทำงานกับฝ่ายต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อนำข้อมูลมาวางแผนกิจกรรมประชาสัมพันธ์
  2. วางแผนและสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมประชาสัมพันธ์ที่ต้องการสื่อสาร เช่น เป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ เนื้อหาที่อยากจะสื่อสารประชาสัมพันธ์ คนและเครือข่ายที่ต้องชวนมาร่วมในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รูปแบบการประชาสัมพันธ์ สื่อมวลชนที่ควรเชิญมาร่วมกิจกรรม ฯลฯ
  3. จัดเตรียมและดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตามรายละเอียดที่วางไว้
  4. การวิเคราะห์และประเมินผลเพื่อวัดความสำเร็จและปรับปรุงกิจกรรมในอนาคต
  5. การจัดการความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน คณะกรรมการ หรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ขององค์กรหรือบริษัท
👩🏻‍💻 อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
  1. นักการตลาด
  2. นักข่าว/ผู้สื่อข่าว
  3. นักออกแบบกราฟิก
  4. ช่างภาพ/ช่างวิดีโอ
🏢 สถานที่และเวลาทำงาน
  • ทำงานในองค์กรหรือบริษัทที่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือทำงานในหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  • ทำงานในบริษัท/หน่วยงาน ตามช่วงเวลาปกติ (วันละ 8 ชั่วโมง) อาจมีการทำงานนอกเวลาทำงานในกรณีที่มีกิจกรรมหรืออีเวนต์ที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ เช่น วันเสาร์-อาทิตย์
  • อาจมีการออกไปทำงานนอกสถานที่บ้าง เช่น งานแสดงสินค้า งานประชุม งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ หรือกิจกรรมสื่อสารต่างๆ
✅ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้
  • ทักษะการสื่อสารที่ดีทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน
  • ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์
  • ทักษะการประสานงาน
  • ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ความรู้ด้านวางแผนและจัดการกิจกรรมประชาสัมพันธ์
  • ความสามารถในการใช้สื่อต่างๆ เช่น สื่อโฆษณา, สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลและเสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร
💵 โอกาส ความท้าทาย และผลตอบแทน
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000 - 50,000 บาทต่อเดือน
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ "เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์" ดังนี้
    • เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ (Public Relations Officer)
    • ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Manager)
    • ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ (Director of Public Relations)
    • ผู้จัดการสื่อสารองค์กร (Corporate Communications Manager)
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ "เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์"
    • อาชีพนี้เป็นเสมือนตัวแทนขององค์กร ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดี และต้องสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมาย
    • ต้องรับมือกับสถานการณ์เชิงลบที่ต้องการการแก้ไขปัญหาและการจัดการวิกฤติ เช่น การรับมือกับข่าวลือ ข่าวเชิงลบขององค์กร
    • ต้องมีความสามารถในการสื่อสารเรื่องที่มีความซับซ้อนให้ทั้งภายในและภายนอกเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
🖥️ ช่องทางการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
  • YouTube ที่มีเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับ "เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์"
    • We Mahidol. (2021, November 16). อาชีพ นักประชาสัมพันธ์ | MU Careers Service [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=lhXuMstCbcw 
    • TruePlookpanya Channel. (2013, December 21). I AM : Public relations officer นักประชาสัมพันธ์ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=oSnrSYAUqII 
    • AT HOME กวดวิชาออนไลน์. (2020, September 2). วัยกำลังโต EP.02 - อาชีพ PR เงินเดือนเท่าไหร่ ? ทำงานอย่างไร ? งานสบายจริงหรือเปล่า ? I AT HOME [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=BNajI26fHDY 
📚 ข้อมูลสายการเรียนที่เกี่ยวข้อง

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
  • คณะนิเทศศาสตร์ สาขาออกแบบสื่อสารออนไลน์
  • วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
  • คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิชาเอกเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
  • คณะบริหารธุรกิจ การสื่อสารการตลาดดิจิทัลและโฆษณา 
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาการตลาด
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการตลาด 
  • คณะการสื่อสารมวลชน การสื่อสารการตลาด 
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการตลาดเชิงสร้างสรรค์และดิจิทัล 

 

ปริญญาโท เช่น

จบ ป.ตรี คณะนิเทศศาสตร์ ทุกสาขาวิชา แต่ต้องพัฒนาทักษะ ด้านภาษา การสื่อสาร การประสานงาน การผลิตสื่อดิจิทัล หาโอกาสฝึกงานหรือทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ ศึกษาเกี่ยวกับการตลาดเบื้องต้น เพิ่มเติม

จบ ป.ตรี คณะศิลปศาสตร์ หรือคณะมนุษยศาสตร์ แต่ต้องพัฒนาทักษะ ด้านการสื่อสาร การประสานงาน การผลิตสื่อดิจิทัล หาโอกาสฝึกงานหรือทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ ศึกษาเกี่ยวกับการตลาดเบื้องต้น เพิ่มเติม

  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
  • คณะบริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด 
  • คณะการสื่อสารมวลชน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การสื่อสารการตลาด
  • คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล การสื่อสารการตลาดและแบรนด์
  • คณะบริหารธุรกิจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาการตลาดเพื่ออนาคต

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด
  • คณะการบัญชีและการจัดการ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการการตลาดสมัยใหม่
  • คณะนิเทศศาสตร์ นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567

🌐 แหล่งอ้างอิง

 

 

305

แนะนำอาชีพใกล้เคียง

ไม่มีข้อมูล

รู้จักอาชีพผ่านกิจกรรม

ไม่มีข้อมูล